ให้นิสิตทุกรูปทำแบบฝึกหัดข้างล่างนี้
เสร็จแล้วให้หัวหน้าห้องนำไปส่งไว้ที่โต๊ะของพระอาจารย์ ห้อง ๒๑๐
แบบฝึกหัดวิชาสัมพันธ์
๑. บทปฐมาวิภัตติใช้ในอรรถกี่อย่าง
ก. ๓ อย่าง ข. ๔ อย่าง
ค. ๕ อย่าง ง. ๖ อย่าง
๒. ปฐมาวิภัตติเป็นประธานในประโยคเหตุกัตตุวาจก เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สยกตฺตา ข. เหตุกตฺตา
ค. วุตฺตกมฺม ง. ลิงฺคตฺถ
๓. ทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถกี่อย่าง ?
ก. ๓ อย่าง ข. ๔ อย่าง
ค. ๕ อย่าง ง. ๖ อย่าง
๔. บททุติยาวิภัตติที่แปลว่า สู่ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. อวุตฺตกมฺม ข. สมฺปาปุณิยกมฺม
ค. อกถิตกมฺม ง. การิตกมฺม
๕. บททุติยาวิภัตติที่แปลว่า กะ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ก. อวุตฺตกมฺม ข. สมฺปาปุณิยกมฺม
ค. อกถิตกมฺม ง. การิตกมฺม
๖. บททุติยาวิภัตติที่แปลว่า สิ้น, ตลอด เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ก. อวุตฺตกมฺม ข. สมฺปาปุณิยกมฺม
ค. อกถิตกมฺม ง. อจฺจนฺตสํโยค
๗. บททุติยาวิภัตติที่แปลไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ก. กิริยาวิเสสน ข. สมฺปาปุณิยกมฺม
ค. อกถิตกมฺม ง. การิตกมฺม
๘. บทว่า สูทํ ในประโยคว่า สามิโก สูทํ โอทนํ ปาจาเปติ ฯ สัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. การิตกมฺม ข. อวุตฺตกมฺม
ค. สมฺปาปุณิยกมฺม ง. อจฺจนฺตสํโยค
๙. บทตติยาวิภัตติใช้ในอรรถ ๖ เข้ากับอะไรบ้าง
ก. เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
ข. เข้ากับนามอย่างเดียว
ค. เข้ากับกิริยาอย่างเดียว
ง. เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง อัพยยศัพท์บ้าง
๑๐. บทตติยาวิภัตติที่แปลว่า “ด้วย” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. กรณ ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. สหตฺถตติยา ง. อิตฺถมฺภูต
๑๑. บทตติยาวิภัตติที่แปลว่า “อัน” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. กรณ ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. สหตฺถตติยา ง. อิตฺถมฺภูต
๑๒. บทตติยาวิภัตติที่แปลว่า “โดย,ตาม,ทาง,ข้าง” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ตติยาวิเสสน ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. สหตฺถตติยา ง. อิตฺถมฺภูต
๑๓. บทตติยาวิภัตติที่แปลเข้ากับ “สทฺธึ” ศัพท์ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ตติยาวิเสสน ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. สหตฺถตติยา ง. กรณ
๑๔. บทตติยาวิภัตติที่แปลว่า มี, ด้วยทั้ง เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ตติยาวิเสสน ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. อิตฺถมฺภูต ง. กรณ
๑๕. บทว่า “กาเยน” ในประโยคว่า ปุคฺคโล กาเยน กมฺมํ
กโรติ ฯ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. ตติยาวิเสสน ข. อนภิหิตกตฺตา
ค. สหตฺถตติยา ง. กรณ
๑๖. บทตติยาวิภัตติที่สัมพันธ์เข้ากับ “สห, สทฺธึ” ศัพท์ ใช้คำเชื่อมว่าอย่างไร
ก. ใน ข. เข้ากับ
ค. ของ ง. ข้อ ก ถูก
๑๗. บทจตุตถีวิภัตติใช้ในอรรถกี่อย่าง เข้ากับอะไรบ้าง
ก. ๒ อย่าง เข้ากับกิริยาบ้าง นามบ้าง
ข. ๓ อย่าง เข้ากับกิริยาบ้าง นามบ้าง อัพยยศัพท์บ้าง
ค. ๑ อย่าง เข้านามอย่างเดียว
ง. ๑ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
๑๘. บทจตุตถีวิภัตติเรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สมฺปทาน ข. อปาทาน
ค. สามีสมฺพนฺธ ง. อาธาร
๑๙. บทว่า “เม” ในประโยคว่า กึ เม ฆรวาเสน ฯ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สมฺปทาน ข. อปาทาน
ค. สามีสมฺพนฺธ ง. อาธาร
๒๐. ประโยคต่อไปนี้ “อุปาสโก ภิกฺขุโน ภตฺตํ เทติฯ สัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. อุปาสโก สยกตฺตา ใน เทติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ภิกฺขุโน สมฺปทาน ใน เทติ ภตฺตํ อวุตฺตกมฺม ใน เทติ ฯ
ข. อุปาสโก สยกตฺตา ใน เทติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ภิกฺขุโน สมฺปทาน ใน ภตฺตํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน เทติ ฯ
๒๑. บทปัญจมีวิภัตติแปลว่าอย่างไร เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. แปลว่า แต่,เพื่อ,ต่อ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า อปาทาน
ข. แปลว่า แต่,จาก,กว่า, เหตุ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า อปาทาน
ค. แปลว่า แก่,เพื่อ,ต่อ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า สมฺปทาน
ง. แปลว่า แก่,จาก,กว่า,เหตุ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า อปาทาน
๒๒. บทปัญจมีวิภัตติที่แปลว่า “เหตุ” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. อปาทาน ข. สมฺปทาน
ค. เหตุ ง. สามีสมฺพนฺธ
๒๓. บทว่า “สาวตฺถิโต” ในประโยคว่า เถโร สาวตฺถิโต อาคโต ฯ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. อปาทาน ข. สมฺปทาน
ค. เหตุ ง. สามีสมฺพนฺธ
๒๔. บทว่า “ปาปา” ในประโยคว่า “ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. อปาทาน ข. สมฺปทาน
ค. เหตุ ง. สามีสมฺพนฺธ
๒๕. บทฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถกี่อย่าง เข้ากับอะไรบ้าง
ก. ๖ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
ข. ๖ อย่าง เข้ากับนามอย่างเดียว
ค. ๖ อย่าง เข้ากับกิริยาอย่างเดียว
ง. ๑ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง อัพยยศัพท์บ้าง
๒๖. บทฉัฏฐีวิภัตติที่แปลว่า “แห่ง,ของ เนื่องด้วยเจ้าของ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. นิทฺธารณ
๒๗. บทฉัฏฐีวิภัตติที่แปลว่า “แห่ง,ของ เนื่องในหมู่ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. นิทฺธารณ
๒๘. บทฉัฏฐีวิภัตติที่แปลว่า “แห่ง,ของ เข้ากับ “ภาว” ศัพท์ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. นิทฺธารณ
๒๙. บทฉัฏฐีวิภัตติที่แปลว่า “แห่ง...หนา” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. นิทฺธารณ
๓๐. บทฉัฏฐีวิภัตติทีแปลว่า “เมื่อ” เป็นประธานในประโยคแทรกเรียชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. อนาทร
๓๑. บทฉัฏฐีวิภัตติใช้คำเชื่อมว่าอย่างไร
ก. ใน ข. ของ
ค. เข้ากับ ง. ในบ้าง ของบ้าง
๓๒. บทว่า “ภิกฺขุสฺส” ในประโยคว่า “ภิกฺขุสฺส สงฺโฆ” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. นิทฺธารณ
๓๓. บทว่า “สามเณรสฺส” ในประโยคว่า “สามเณรสฺส กมฺมํ กโรนฺตสฺส เถโร คามํ ปาวิสิ ฯ เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. สามีสมฺพนฺธ ข. ภาวาทิสมฺพนฺธ
ค. สมุหสมฺพนฺธ ง. อนาทร
๓๔. บทสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถกี่อย่าง เข้ากับอะไรบ้าง
ก. ๑๐ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
ข. ๑๑ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
ค. ๑๒ อย่าง เข้ากับกิริยาอย่างเดียว
ง. ๑๒ อย่าง เข้ากับนามบ้าง กิริยาบ้าง
๓๕. บทสัตตมีวิภัตติใช้คำเชื่อมว่าอย่างไร
ก. ใน ข. ของ
ค. เข้ากับ ง. ในบ้าง ของบ้าง
๓๖. บทสัตตมีวิภัตติที่แปลว่า “ใน เป็นที่อาศัย” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. วิสยาธาร ข. พฺยาปิกาธาร
ค. อาธาร ง. ภินฺนาธาร
๓๗. บทสัตตมีวิภัตติที่แปลว่า “ใน เป็นที่กำบัง,เป็นที่ปกปิด” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. วิสยาธาร ข. พฺยาปิกาธาร
ค. ปฏิจฺฉนฺนาธาร ง. ภินฺนาธาร
๓๘. บทสัตตมีวิภัตติที่แปลว่า “ครั้นเมื่อ” เรียกชื่อสัมพันธ์ว่าอย่างไร
ก. วิสยาธาร ข. ลกฺขณ
ค. ปฏิจฺฉนฺนาธาร ง. ภินฺนาธาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น